หม้อแปลงไฟฟ้าแบบ Auto


หม้อแปลงออโต้  หรือ  Auto  Transformer  เป็นหม้อแปลงชนิดพิเศษอีกแบบหนึ่ง  มีขดลวดเพียงขดเดียวโดยใช้ขดลวดขดนี้เป็นทั้งขดปฐมภูมิและขดทุติยภูมิ  เมื่อพิจารณาจากรูปที่     7.17  (ก)  จะเห็นว่าขั้ว  H1, H2  คือขดลวดปฐมภูมิและขั้ว  L1 , L2  คือขดลวดทุติยภูมิและเมื่อต่อโหลดเข้ากับหม้อแปลงออโต้ดังรูปมือเพื่อปรับค่าแรงดันขาออกของหม้อแปลงออโต้  อาจเรียกอีกข้อหนึ่งว่า  วาริแอก  (Variac)  

การต่อหม้อแปลงไฟฟ้าแบบ 3 เฟสสามารถต่อได้ 4 แบบ
1.   แบบเดลต้า-เดลต้า (Three-Phase  Connections) 
2.   แบบวาย-เดลต้า (Three-Phase   Connections) 
3.   แบบเดลต้า-วาย (Three-Phase   Connections) 
4.   แบบวาย-วาย (Three-Phase   Connections) 

ระบบแรงดันและกระแสในระบบ 3 เฟส
การศึกษาระบบแรงดันและกระแสของหม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อที่ผู้ใช้จะได้ทราบถึงขนาดของแรงดันที่จะนำไปต่อกับโหลดโดยด้านที่จะนำไปต่อกับโหลดจะเป็นแรงดันด้านทุติยภูมิ ซึ่งระบบแรงดันที่ใช้กันมากตามโรงงานและที่พักอาศัยเป็นระบบแรงดันไฟฟ้า 3 เฟส 3 สาย (Three-phase Three-wire system) และระบบแรงดันไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย (Three-phase four-wire system) 


โครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า

หม้อแปลงไฟฟ้ามีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 3 ส่วน คือ แกนเหล็ก ขดลวดตัวนำ  และฉนวน อาจจะมีส่วนประกอบย่อยอื่นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดพิกัดของหม้อแปลง  เช่น  หม้อแปลงที่ใช้ในระบบจำหน่ายไฟฟ้า มีถังบรรจุหม้อแปลง น้ำมันหม้อแปลง ครีบระบายความร้อน  ขั้วแรงดันด้านสูง ขั้วแรงดันด้านต่ำ และอื่นๆเป็นต้น


1  แกนหลัก (Core) มีลักษณะเป็นแผ่นเหล็กบางๆ เคลือบด้วยฉนวนนำมาอัดซ้อนกันเป็นรูปแกนของหม้อแปลง ทำหน้าที่เป็นทางเดินของเส้นแรงแม่เหล็ก แกนเหล็กที่ดีต้องเป็นเหล็กอ่อนมีส่วนผสมของสารซิลิกอน มีความซึมซับได้ (Permeability) สูง  การสูญเสียเนื่องจากฮิสเตอริซีส (Hyteresisloss) ต่ำ          มีความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กที่ใช้ในการเหนี่ยวนำสูงถึง 1.35-1.55  เวเบอร์ต่อตารางเมตร เป็นเหล็กประเภทเกรนโอเรียนเตด (Gain oriented steel) ฉนวนที่นำมาฉาบแผ่นเหล็กทั้งสองด้านมีค่าความเป็นฉนวนตามผิวสูง เพื่อป้องกันการสูญเสียที่เกิดจากกระแสไหลวน (Eddy  Current)  ซึ่งจะเป็นสารจำพวกวานิช (Vanish)


2  ขดลวด (Winding)  ขดลวดที่ใช้พันหม้อแปลงมีลักษณะเป็นขดลวดทองแดง หรือขดลวดอลูมิเนียมที่หุ้มหรือเคลือบด้วยฉนวน อาจจะเป็นได้ทั้งลวดแบนที่มีพื้นที่หน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือลวดกลมก็ได้     หม้อแปลงไฟฟ้ามีขดลวด  2  ชุด คือ ขดลวดปฐมภูมิ (Primary winding) และขดลวดทุติยภูมิ (Secondary winding) โดยขดลวดปฐมภูมิจะเป็นชุดที่รับไฟเข้า ส่วนขดลวดทุติยภูมิเป็นชุดที่จ่ายไฟออกไปใช้งาน


3  ฉนวน (Insulation)  ฉนวนมีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ขดลวดสัมผัสกับส่วนที่เป็นแกนเหล็ก  และป้องกันไม่ให้ขดลวดแต่ละชั้นสัมผัสกันได้  (Short turn) สำหรับลวดตัวนำที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.2-1.3 มิลลิเมตร หากต้องการให้ฉนวนมีคุณภาพดีและทนความร้อนได้มากจะต้องเคลือบด้วยไวนิเฟลกซ์ (Viniflex) หรือพันทับด้วยไหมแคปรอน (Caprone) เทเรไลน์ (Teleline)หรือฝ้าย และถ้าลวดตัวนำมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่  1.3-4.1  มิลลิเมตร    จะพันด้วยกระดาษเคเบิล  (Cable  paper) หลายชั้น  ส่วนตัวนำที่มีพื้นที่หน้าตัดแบบสี่เหลี่ยม   จะพันทับด้วยฉนวนไฟเบอร์กลาส (Fiberglass)  สำหรับฉนวนที่คั่นระหว่างชั้นของขดลวดส่วนมากจะเป็นกระดาษเคเบิลหนาประมาณ  0.2  มิลลิเมตร และจำนวนชั้นของกระดาษจะขึ้นอยู่กับพิกัดกำลังของหม้อแปลง











There are no products to list in this category.